วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

การสานกระติบข้าว

                                               



                        การสานกระติบข้าวของทางตำบลเรา


วันนี้ขออนุญาตนำบทความเกี่ยวกับการสานกระติบข้าว หรือก่องข้าวเหนียวอีสาน ที่ถือว่าเป็นของใช้ประจำบ้านที่มีมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นการวิวัฒนาการเกี่ยวกับการถนอมข้าวเหนียวให้มีความนุ่ม และเก็บไว้รับประทานได้นานขึ้น จนพัฒนามาเป็นกระติบข้าว หรือที่ทางภาคอีสานเรียกกันว่า ก่องข้าวน้อย

ขั้นตอนการสานกระติบข้าว
 1.นำปล้องไม้ไผ่มาตัดหัวท้าย ตัดเอาข้อออก ผ่าเป็นซีกทำเส้นตอกกว้างประมาณ2-3 ม.ม. ขูดให้เรียบและบาง
2.นำเส้นตอกที่ได้มาสานเป็นรูปร่างกระติบข้าว หนึ่งลูกมี 2 ฝา มาประกอบกัน
3.นำกระติบข้าวที่ได้จากข้อ (2.) มาพับครึ่งให้เท่า ๆ กันพอดี เรียกว่า 1 ฝา
4.ขั้นตอนการทำฝาปิด โดยจักเส้นตอกที่มีความกว้าง 1 นิ้ว สานเป็นลายตามะกอก และลายขัด
5.นำฝาปิดหัวท้ายมาตัดเป็นวงกลม มาใส่เข้าที่ปลายทั้งสองข้าง
6.ใช้ด้ายไนล่อน และเข็มเย็บเข้าด้วยกันรอบฝาปิดหัวท้าย
7.นำก้านตาลที่ม้วนไว้มาเย็บติดกับฝาล่าง ที่เป็นตัวกระติบข้าว
 8.นำกระติบข้าวที่ได้ไปรมควันจากฟางข้าว เพื่อกันแมลงเจาะ แลเพื่อความสวยงาม ทนทาน ไม่เกิดราดำ
9.นำไม้มาเหลาเป็นเส้นตอก กลมยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ม.ม. ความยาวรอบ บางเท่ากับฝากระติบพันด้วยด้ายไนล่อน แล้วเย็บติดฝาขอบบน เพื่อความสวยงาม
10.เจาะรูที่เชิงกระติบข้าว ด้วยเหล็กแหลม 2 รู ให้ตรงข้ามกัน แล้วทำหูที่ฝาด้านบน ตรงกับรูที่เจาะเชิงไว้

11.   ใช้ด้ายไนล่อนสอดเข้าเป็นสายไว้สะพายไปมาได้สะดวก จะได้กระติบข้าวที่สำเร็จเรียบร้อย สามารถนำมาใช้และจำหน่ายได้










ประโยชน์ที่ได้จากกระติบข้าว

1. ใช้บรรจุข้าวเหนียว
2. เป็นของชำร่วย
3. ประดับตกแต่ง
4. กล่องเอนกประสงค์
5. กล่องออมสิน
6. แจกัน
7. กล่องใส่ดินสอ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น