วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

ภูมิปัญญาท่องถิ่น

               

                       การตำสาด แบบต้น กก
                                       หรือ (การท่อสาด)



  ในการทอเสื่อจะใช้คน 2 คน คนแรกเป็นคนทอ อีกคนหนึ่งเป็นคนคอยสอดเส้นกก กกที่นำมาทอจะใส่ถุงพลาสติกเพื่อให้กกนิ่มและทอได้แน่น การทอคนทอจะต้องคว่ำฟืมเพื่อให้มีช่องว่างสำหรับสอดกก คนสอดจะสอดเส้นกกโดยแนบส่วนหัวของเส้นกกกับไม้สอด สอดไปตามช่องระหว่างเชือกที่แยกออกจากกันขณะที่คว่ำฟืม พอสอดไปสุดริมเชือกอีกข้างดึงไม้สอดกลับคืนคงเหลือแต่เส้นกก คนทอก็กระทบฟืมเข้าหาตัวแล้วคนทอก็หงายฟืม คนสอดก็ใช้ส่วนปลายของเส้นกกแนบกับไม้สอด สอดกกเข้าไปอีก คนทอก็กระตุกฟืมเข้าหาตัว แล้วไพริมเสื่อทางด้านซ้ายมือ การไพริมเสื่อ คือ การใช้ปลายกกม้วนงอลงแล้วสอดพับเชือกขัดไว้ให้แน่น ต่อไปคว่ำฟืม ไพริมเสื่อทางด้านขวามือ ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ขนาดตามที่ต้องการ ในขณะทอหากต้องการให้การทอง่ายยิ่งขึ้นให้ใช้เทียนไขถูกับเส้นเอ็นที่ขึงไว้ให้ทั่ว เพื่อที่จะให้เอ็นลื่นไม่ฝืด ตัดริมเสื่อทั้งสองด้านให้เรียบร้อย เสื่อจะมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น ใช้มีดตัดเชือกเอ็นทางตีนเสื่อเพื่อให้เสื่อออกจากโฮง มัดเอ็นที่ปลายเสื่อ เพื่อเป็นการป้องกันเสื่อรุ่ย นำเสื่อที่ทอเสร็จแล้วผึ่งแดดไว้จนแห้งสนิท จึงพับเก็บไว้จำหน่ายหรือนำออกไปใช้



พอทำเสร็จแล้วจะได้มาแบบนี้


จะมีลวดลายที่สวยงาม

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

กิจกรรมการเข้าค่าย






                      กิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือ



        การเข้าค่ายลูกเสือของโรงเรียนดงหลวงวิทยา
การเข้าค่ายก็จะมีกิจกรรมประจำฐานของแต่ล่ะฐานมีการรอดปากเสือก่อนที่จะเข้าค่าย หรือ ก่อนที่จะเปิดกลองและมีการบูชาเคารพสิ่งศักดิ์สิทธ์และทำการเปิดกลองและเตรียมออกไปเดินทางไกลและเข้าทำกิจกรรมประจำฐานในแต่ล่ะฐาน เงื่อน และการท่องกฎและคำประติญาณ


                                    เข้าค่ายพักแรม
และพอในตอนกลางคืนก็มีกิจกรรมรอบกลองไฟและก็มีการแสดงของแต่ล่ะกลุ่ม หรือ การแสดงของผู้บำเพ็ญประโยชน์ และของลูกเสือ และยุวกาชาติการแสดงของแต่ล่ะคนก็มีแตกต่างกันไป








การสานตะกร้าพลาสติก

                

                     การสานตะกร้าพลาสติก 



เป็นของที่ทำขึ้นมาในกลุ่มของคนในตำบลเราและจัดสารอย่างสวยงามและเป็นของที่ใส่ได้ทุกอย่าง
และการสานตะกร้ายังทำรายได้ให้กับชุมชนเป็นรายได้เสริมในเวลาที่ว่างและในตำบลของเรายังทำเป็นสินค้าที่ใช้ในท้องถิ่นและจะมีคนที่รับและไปขายต่อซึ่งนั้นมีราคาสูงเพราะทำจากมือ





การจัดสาน






การสานตะกร้าในตำบลเรา

               
         

                            การสานตะกร้า


ภูมิปัญญาท้องถิ่น (การสานตะกร้า)
การสานตะกร้าจากไม้ไผ่

 ทุกวันนี้ นอกจากนางเรี่ยและครอบครัวที่สานตะกร้าจากก้านมะพร้าว 
เป็นแล้ว ยังมีเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งก็คือกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ที่มีภูมิปัญญาในด้านการจักสานอยู่แล้ว สานตะกร้าจากก้านมะพร้าวเป็นงานยามว่างที่สามารถสร้างรายได้เสริมให้แก่ครอบครัวได้ด้วย 

กลุ่มสานตะกร้าจากก้านมะพร้าว บ้านหนองหัวแรด ตำบลแหลมทอง อาจไม่ใช่กลุ่มที่รวมตัวกันอย่างเป็นทางการ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ไม่ได้เป็นสินค้าโอท็อป และคนทำเองก็ไม่ได้หวังว่าจะต้องทำเป็นกิจการใหญ่โตเพื่อไปแข่งขันกับสินค้าอื่นๆ ขอเพียงเป็นอาชีพเสริมที่มีรายได้เล็กๆ น้อยๆ อาศัยว่าเป็นการทำงานแก้เหงาของคนในวัยชรา สิ่งที่น่าสนใจศึกษาจากกลุ่มนี้จึงไม่ใช่แค่กระบวนการหรือขั้นตอนการสานตะกร้าเท่านั้น แต่เป็นร่องรอยในอดีตของชุมชน และภูมิปัญญาชาวบ้านอันทรงคุณค่า ที่รอคอยให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาเรียนรู้และช่วยกันสืบทอดต่อไป 






                                                     ตะกร้าไว้ใช้ตอนไปวัด


  ตะกร้าที่ใช้ใส่ของประจำวันและได้มาจากการสานของชอบบ้าน

การสานหวดนึ่งข้าว

               

                         การสานหวดนึ่งข้าว

หวดนึ่งข้าว

การสานหวนึ่งข้าวก็มีการเลือกไม้ไผ่ที่มีคุณภาพดีแข็งแรงและทนทานการเลือกที่สวยและหวดนึ่งข้าวก็เป็นภูมิปัญญาไทยที่ทำมาช้านานแล้วและในแต่ล่ะคนในหมู่บ้านจะมีคนทำหวด แต่ล่ะหมู่บ้านและมีการนำขายส่งออก





สมุนไพรของตำบลเรา

                                

                     สมุนไพรของตำบลเรา


                                                                     ต้นฝาง

เป็นสมุนไพรที่ชาวบ้านของเราใช้รักษาโรคในสมัยอดีตจนถึงประจุบันและใช้รักษาโรค เช่น ปวดกล้ามเนื้อ หรือแก้ปวดท้อง และแก้ร้อนในเป็นต้นต้นฝางเป็นสมุนไพรของแต่ล่ะท่องถิ่นแถวบ้านเราจะใช้บ่าย
เพราะเป็นยาแก้ไอ้ได้ด้วย



ช่วยแก้อาการไอ แก้หวัด (แก่น)2,16 ตามตำรับยาระบุให้ใช้แก่นฝางหนัง 3 บาท, ตะไคร้ 3 ต้น ทุบให้ละเอียด, น้ำ 1 ลิตร ใส่น้ำปูนใสเล็กน้อย แล้วต้มพอให้ได้น้ำยาสีแดง ใช้รับประทานครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 เวลา หรืออาจผสมน้ำตาลกรวดด้วยก็ได้ (แก่น) ส่วนอีกตำรับยาหนึ่ง ซึ่งเป็นตำรับยาแก้ไอ ไอแบบเป็นหวัดและเจ็บคอ ไอแบบคอแห้ง หรือไอแบบหอบหืด และผู้ที่ไอจากวัณโรคก็บรรเทาได้เช่นกัน รวมไปถึงอาหารปอดหรือหลอดลมอักเสบก็จิบยาแก้ไอขนานนี้ได้ โดยตำรับยาแก้ไอฝาง ประกอบไปด้วยเนื้อไม้ฝาง  พริกไทยร่อน  กานพลู  สารส้ม การบูร , เมนทอล , เปลือกหอยแครงแล้วทำเป็นปูนขาว , ดีน้ำตาลหรือใช้น้ำตาล , และน้ำสะอาด 5 ลิตร ส่วนวิธีการปรุงยาให้นำเนื้อไม้ฝางมาสับเป็นซี่เล็ก ๆ คล้ายไม้จิ้มฟัน แล้วนำไปต้มกับน้ำให้เดือดประมาณ 15-30 นาที และสำหรับส่วนผสมอื่น ๆ ให้นำมาตำให้ละเอียด เก็บใส่ไว้ในโหลก่อน จากนั้นนำน้ำยาต้มฝางที่รอจนอุ่นแล้วมาทาใส่ลงในโหลที่มีตัวยาอื่น ๆ ผสมอยู่ และให้แช่ยานี้ไว้ประมาณ 2-3 วัน (คนยาวันละ 3 ครั้ง) เมื่อค
รบวันแล้วให้กรองเอาเฉพาะน้ำยามาเก็บไว้ใส่ขวดที่สะอาดเก็บไว้จิบกินตอนมีอาการไอ (ยาแก้ไอฝางสูตรนี้ไม่ควรกินต่อเนื่องกันนานจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้มีอาการมึนศีรษะและมีความดันต่ำได้ ดังนั้นเมื่อกินจนอาการไอหายแล้วก็ให้หยุดกิน) (เนื้อไม้)































น้ำฟักข้าวของตำบลเรา

                   



                                     การทำน้ำฟักข้าวของตำบลเรา



  
  น้ำฟักข้าว (แบบไม่ผสม)
           
          น้ำฟักข้าวสูตรนี้เหมาะสำหรับคนที่ต้องการดื่มคุณประโยชน์          จากผลฟักข้าวแบบเต็ม ๆ แก้ว ได้รสชาติแท้ ๆ และกลิ่นของฟักข้าวชนิดที่เรียกว่า 100% เลยทีเดียว 

 ส่วนผสม
           
 ฟักข้าว 1 ลูก
     น้ำต้มสุก 3 ถ้วย
        เกลือป่น เล็กน้อย
         น้ำเชื่อม ตามชอบ

วิธีทำ
           
           1. ผ่าครึ่งลูกฟักข้าว คว้านเอาเม็ดออก จากนั้นปอกเปลือกออกแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
           
           2. ใส่เนื้อฟักข้าวลงในเครื่องปั่น ตามด้วยน้ำต้มสุก ปั่นจนละเอียดเข้ากันดี เติมน้ำเชื่อมและเกลือป่นตามชอบ คนผสมให้เข้ากัน เทใส่แก้ว พร้อมดื่ม


เมื่อทำเสร็จแร้วก็จะได้ออกมาเป็นน้ำสีส้มดูสดใส่
น่ารับประทานเป็นรายได้เสริมของคนในชุมชน




ผลฟักข้าว



การสานกระติบข้าว

                                               



                        การสานกระติบข้าวของทางตำบลเรา


วันนี้ขออนุญาตนำบทความเกี่ยวกับการสานกระติบข้าว หรือก่องข้าวเหนียวอีสาน ที่ถือว่าเป็นของใช้ประจำบ้านที่มีมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นการวิวัฒนาการเกี่ยวกับการถนอมข้าวเหนียวให้มีความนุ่ม และเก็บไว้รับประทานได้นานขึ้น จนพัฒนามาเป็นกระติบข้าว หรือที่ทางภาคอีสานเรียกกันว่า ก่องข้าวน้อย

ขั้นตอนการสานกระติบข้าว
 1.นำปล้องไม้ไผ่มาตัดหัวท้าย ตัดเอาข้อออก ผ่าเป็นซีกทำเส้นตอกกว้างประมาณ2-3 ม.ม. ขูดให้เรียบและบาง
2.นำเส้นตอกที่ได้มาสานเป็นรูปร่างกระติบข้าว หนึ่งลูกมี 2 ฝา มาประกอบกัน
3.นำกระติบข้าวที่ได้จากข้อ (2.) มาพับครึ่งให้เท่า ๆ กันพอดี เรียกว่า 1 ฝา
4.ขั้นตอนการทำฝาปิด โดยจักเส้นตอกที่มีความกว้าง 1 นิ้ว สานเป็นลายตามะกอก และลายขัด
5.นำฝาปิดหัวท้ายมาตัดเป็นวงกลม มาใส่เข้าที่ปลายทั้งสองข้าง
6.ใช้ด้ายไนล่อน และเข็มเย็บเข้าด้วยกันรอบฝาปิดหัวท้าย
7.นำก้านตาลที่ม้วนไว้มาเย็บติดกับฝาล่าง ที่เป็นตัวกระติบข้าว
 8.นำกระติบข้าวที่ได้ไปรมควันจากฟางข้าว เพื่อกันแมลงเจาะ แลเพื่อความสวยงาม ทนทาน ไม่เกิดราดำ
9.นำไม้มาเหลาเป็นเส้นตอก กลมยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ม.ม. ความยาวรอบ บางเท่ากับฝากระติบพันด้วยด้ายไนล่อน แล้วเย็บติดฝาขอบบน เพื่อความสวยงาม
10.เจาะรูที่เชิงกระติบข้าว ด้วยเหล็กแหลม 2 รู ให้ตรงข้ามกัน แล้วทำหูที่ฝาด้านบน ตรงกับรูที่เจาะเชิงไว้

11.   ใช้ด้ายไนล่อนสอดเข้าเป็นสายไว้สะพายไปมาได้สะดวก จะได้กระติบข้าวที่สำเร็จเรียบร้อย สามารถนำมาใช้และจำหน่ายได้










ประโยชน์ที่ได้จากกระติบข้าว

1. ใช้บรรจุข้าวเหนียว
2. เป็นของชำร่วย
3. ประดับตกแต่ง
4. กล่องเอนกประสงค์
5. กล่องออมสิน
6. แจกัน
7. กล่องใส่ดินสอ


วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

วัดถ้ำน้ำริน


                                                     วัดถ้ำน้ำริน                                

                            วัดถ้ำน้ำริน สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2484  พระธุดงค์สายกรรมฐาน                                                                       (หลวงปูหมั้น,หลวงตามาหาบัว,หลวงปูแบน)                                                                                                รวมทั้งลูกศิษย์หลายๆรูป ได้เคยมาบำเพ็ญภาวนาในห้วงปี


  
        



                       พ.ศ. 2539    พระอาจาร์เอกลักษณ์ได้ค้นพบขวาน สำริด,หม้อดินและหัวกระโหลก











เป็นที่ท่องเที่ยวของคนที่มาชมและมาเรียนรู้ประวัติ
ของหมู่บ้านแห่งนี้และเป็นที่ ที่คนมาดูแล้วต้องถ่ายรูป








บ้านโบราณ


บ้านโบราณ




ตั้งอยู่ ณ  บ้านติ้ว ตำบลพังแดง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
ได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2508  เจ้าของบ้าน ชื่อ นาย คำพลอย เชื่้อคำฮด
(พระขาวพลอย) มีลักษณะบ้าน โบราณ เป็นบ้านไม้สองชั้น ซึ่งมีการ
ตกแต่งลวดลายรอบบ้าน รวมทั้งการวาดภาพศิลปะที่ฝาผนัง ประตู
และหน้าต่าง ซึ่งมีความสวยงามของบ้านโบราณแห่งนี้  






เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด๋นในสมัยนั้น ต่อมาได้ล้างมา
หลังยุคคอมมิวนิสต์ ในปี 2526
ชาวบ้านจึงได้อนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้หลังได้ศึกษา


วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

สถานที่ท่องเที่ยว วัดห้วยเลาคีรีเขต





                    สถานที่ท่องเที่ยว วัดห้วยเลาคีรีเขต

         เป็นสถานท่องเที่ยวอีกที่หนึ่งของบ้านห้วยเลาเป็นวัดที่มีความสงบร่มรื่น และ มีสัตว์
         หลายชนิดให้ได้ดูได้ชม ส่วนที่สระน้ำก้มีปลาที่ชาวบ้านมาปล่อยมาทำบุญ ไม่ว่าจะเป็นเต่า
        หรืออะไรต่างๆๆ มากมายส่วนพระพุทธรูปชินราชที่เป้นที่เคารพศักการะกราบไหว้บุชาขอพรสิ่งศักดิ์
       การตกแต่งฝาผนังสวยงามเป็นรูปช้างส่วนรูปพระพุทธที่ตั้งยุด้านหน้าก็เป็นรูปพระพูทธรูปขนาดไม่          ใหญ่มากอยู่ด้านหน้าทางเดินขึ้นวัด ทางขึ้นวัดจะเป็นทางเดินขึ้นซึ่งประมาณ 500 เมตร เพื่อเดินขึ้น           มาถึง




 


แต่ก็มีถนนให้ขับรถขึ้นก็สูงชันนิดหน่อยแต่ก็มีความสุข

 โขดหินภูเขาไฟ



                       โขดหินภูเขาไฟ

        เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกที่หนึ่งของ ตำบลพังแดงของเรา               สถานที่ดีๆๆๆ แบบนี้ก็มีพระพุทธรูปไว้กราบไหว้บูชา พึ่งสร้างเสร็จ      เมื่อไม่นานมานี้ความสวยงามยังมีอีกมาก ถ้าไปตอนเช้าถ้าเป็นฤดู
      หนาวจะมีหมอกลงปกคลุมสวยงามมาก และ ตอนที่พระอาทิตย์          ขึ้นจะมีแสงสีสวยงามเหมาะกับการ   ถ่ายรูปเร่นกัน และ โขดหิน        ภูเขาไฟนี้จะมีน้ำอยู่ข้างในแอ่งใหญ่สวยงาม ส่วนแอ่งโขดหิน              ภูเขาไฟ ก็มีเป็นแอ่งเยอะมาก ทำให้มีคนไปเที่ยวชมเป็นส่วนมาก